วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบทดสอบเรื่องคีตกวีของไทย

แบบฝึกหัดเรื่องคีตกวีของไทย




1. มนตรี ตราโมท มีนามเดิมว่าอะไร ?

ทองเงิน

บุญธรรม

นายดำ


2. มนตรี ตราโมท เกิดปี พ.ศ. อะไร ?

พ.ศ. 2443

พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2510

3. มนตรี ตราโมท เกิดวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ?

วันที่ 17 มกราคม

วันที่ 30 มิถุนายน

วันที่ 17 มิถุนายน

4. มนตรี ตราโมท เริ่มเรียนดนตรีอะไรเป็นครั้งแรก ?

ระนาด

ปี่พาทย์

กลอง

5. มนตรี ตราโมท เรียนดนตรีปี่พาทย์กับใคร ?

ครูอุ๊

ครูอาจารย์

ครูสมบุญ

6. มนตรี ตราโมท เรียนระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ แคลริเนตกับใคร ?

ครูสมบุญ

ครูเพลง

ครูดนตรี

7. มนตรี ตราโมท เรียนหลักการแต่งเพลงกับใคร ?

ครูจอม

ครูสมบุญ

ครูน้อย

8. มนตรี ตราโมท เรียนวิธีการแต่งเพลงกับใคร ?

พ่อ แม่

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสามศัพท์)

ครูร่ม

9. มนตรี ตราโมท เรียนโน้ตสากลกับใคร ?

วิลเบอร์ ไรท์

พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร)

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

10. มนตรี ตราโมท รับราชการที่กรมพิณพาทย์หลวงในสมัยใด ?

รัชกาลที่ 6

รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 4

11. มนตรี ตราโมท เป็นผู้บรรเลงระนาดทุ้มประจำวงอะไร ?

วง Linkin Park

วงดนตรี

วงข้าหลวงเดิม

12. มนตรี ตราโมท มีฝีมือทางการบรรเลงเครื่งดนตรีอะไรที่ได้รับยกย่องพิเศษ ?

ระนาดทุ้ม

ระนาดเอก

เปียโน

13. ตำราทางวิชาการดนตรีไทยที่ มนตรี ตราโมท แต่งไว้คือเรื่องอะไร ?

ดนตรีไทยน่ารู้

ดุริยางคศาสตร์ไทย

ดนตรีกับประเทศไทย

14. มนตรี ตราโมท ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ใด ?

พ.ศ. 2510

พ.ศ. 2450

พ.ศ. 2523

15. มนตรี ตราโมท ได้รับพระราชทานโล่ห์เกียรติยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักดนตรีตัวอย่างเมื่อปี พ.ศ. ใด ?

พ.ศ. 2540

พ.ศ. 2524

พ.ศ. 2541

16. มนตรี ตราโมท ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย ประจำปีพ.ศ.ใด ?

พ.ศ 2440

พ.ศ. 2528

พ.ศ. 2550

17. บุญยงค์ เกตุคง เป็นบุตรชายคนโตของใคร ?

นายธรรม

นายเที่ยงและนางเขียน เกตุคง

นายตรง

18. บุญยงค์ เกตุคง เกิดเมื่อปี พ.ศ. ใด ?

พ.ศ. 2450

พ.ศ. 2468

พ.ศ. 2463

19. บุญยงค์ เกตุคง ได้เข้ารับราชการในกรมประชาสัมพันธ์ประมาณกี่ปี ?

5 – 6 ปี

20-30 ปี

1-2 ปี

20. บุญยงค์ เกตุคง เป็นนักดนตรีประจำอยู่ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมอยู่ประมาณกี่ปี ?

5 ปี

50 ปี

30 ปี

21. บุญยงค์ เกตุคง จากนั้นเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของสำนักงานอะไรจนเกษียณอายุ ?

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

สำนักงานกรุงเทพมหานคร

สำนักงานประกันสังคม

22. บุญยงค์ เกตุคง เกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ. อะไร ?


พ.ศ. 2500

พ.ศ. 2510

พ.ศ. 2525

23. ผลงานการแต่งเพลงของ บุญยงค์ เกตุคง ในระยะหลัง มีชื่อเสียงแพร่หลายไปถึงต่างประเทศคือไปร่วมงานกับใคร ?

บรู๊ซ แกสตัน

เลดี้ กาก้า

ไมเคิล แจ็กสัน

24. นายบรู๊ซ แกสตัน เป็นนักดนตรีสัญชาติอะไร ?

สัญชาติเกาหลีใต้

สัญชาติเยอรมัน

สัญชาติฝรั่งเศส

25. บุญยงค์ เกตุคง มีอายุกี่ปี ?


76 ปี

90 ปี

98 ปี

26. พระประดิษฐไพเราะ มีนามเดิมว่าอะไร ?

ดำ

มี ดุริยางกูร

ไมเคิล

27. พระประดิษฐไพเราะ เกิดเมื่อสมัยใด ?

รัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 5

ตอนปลายรัชกาลที่ 1

28. มี ดุริยางกูรได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงประดิษฐไพเราะเมื่อใด ?

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2396

วันสงกรานต์

วันคริสต์มาส

29. พระประดิษฐไพเราะ ได้รับสมญาว่าเป็นอะไร

เจ้าแห่งน่านฟ้าแอตแลนติก

เจ้าแห่งกวี

เจ้าแห่งเพลงทยอย

30. พระประดิษฐไพเราะถึงแก่กรรมประมาณสมัยใด ?

รัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 3



ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:

แบบทดสอบเรื่องวงดนตรีไทย

แบบทดสอบเรื่องวงดนตรีไทย




1. วงดนตรีไทยแบ่งโดยสังเขปมีอยู่กี่ประเภท ?

2 ประเภท

3 ประเภท

4 ประเภท


2. วงดนตรีไทยมีวงอะไรบ้าง ?

วงดนตรี วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี

วงมโหรี วงเครื่องสาย วงกลม

3. ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก วงปี่พาทย์ชาตรี ว่าอะไร ?

วงปี่พาทย์ชาตรี

ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา

ปี่พาทย์เครื่องสี่ชนิดเบา

4. วงปี่พาทย์ไม้แข็งมแบ่งเป็นกี่อย่าง ?

4 อย่าง

5 อย่าง

3 อย่าง

5. ทำไมในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา ?

เป็นประเพณี

เป็นความเชื่อ

มีน้ำหนักเบา

6. วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้ามีดนตรีทีสำคัญกี่ชนิด ?

4 ชนิด

3 ชนิด

5 ชนิด

7. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ มีใครเป็นคนปรับปรุงขึ้น ?

รัชกาลที่ 2

รัชกาลที่ 3

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

8. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทอะไร ?

เครื่องดีด เครื่องสี

เครื่องเป่า เครื่องตี

เครื่องตี เครื่องสี

9. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ ?

ปี่ใน ปี่นอก

ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก

เปียโน กีตาร์

10. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ?

ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก

ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่

กลองแขก ซออู้

11. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ?

ปี่ใน ระนาดเอก

ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด

ซออู้ ซอด้วง

12. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์ไม้นวม ?

กลองแขก

ระนาดทุ้ม

ระนาดเอก

13. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์ไม้นวม ?

ระนาดเอกเหล็ก

ระนาดเอก

ระนาดทุ้ม

14. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ?

ระนาดเอก

ซอสามสาย

ระนาดทุ้ม

15. วงปี่พาทย์มอญจะบรรเลงเพลงในงานอะไรเท่านั้น ?

งานแต่งงาน

งานบวช

งานศพ

16. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ?

ระนาดเอก

ระนาดทุ้ม

ปี่มอญ

17. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ?

ฆ้องมอญวงใหญ่

ฆ้องมอญวงเล็ก

ซอสามสาย

18. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ ?

ฆ้องมอญวงใหญ่

ซออู้

ฆ้องมอญวงเล็ก

19. ปี่พาทย์นางหงส์จะบรรเลงเพลงในงานอะไรเท่านั้น ?

งานแต่งงาน

งานบวช

งานศพ

20. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงปี่พาทย์นางหงส์ ?

ปี่ชวา

ระนาดเอก

ซอสามสาย

21. วงเครื่องสายจะประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทอะไรเป็นหลัก ?

เครื่องสาย

เครื่องตี

เครื่องอะไรก็ได้

22. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็ก ?

ระนาดเอก

จะเข้

ฉิ่ง

23. วงเครื่องสายเครื่องคู่จะมีจะเข้อยู่กี่คัน ?

1 คัน

2 คัน

3 คัน

24. เครื่องดนตรีอะไรที่อยู่ในวงเครื่องสายผสม ?

กีตาร์

เปียโน

ขิม

25. วงเครื่องสายปี่ชวาปรับปรุงมาจากอะไร ?

วงดนตรี

วงกลองแขกเครื่องใหญ่

วงกลม

26. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงมโหรีวงเล็ก ?

ซอสามสาย

ซออู้

กลองแขก

27. วงมโหรีเครื่องคู่จะมีจะเข้อยู่กี่คัน ?

1 คัน

2 คัน

3 คัน

28. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงมโหรีเครื่องคู่ ?

ระนาดเอก

กลองแขก

ระนาดทุ้ม

29. เครื่องดนตรีอะไรที่ไม่ได้อยู่ในวงมโหรีเครื่องใหญ่ ?

ขิม

ระนาดเอก

ระนาดทุ้ม

30. วงมโหรีเครื่องใหญ่จะมีซออู้อยู่กี่คัน ?

1 คัน

2 คัน

3 คัน



ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบทดสอบเรื่องเครื่องดนตรีไทย

แบบทดสอบเรื่องเครื่องดนตรีไทย




1. เครื่องดนตรีไทยมีกี่ประเภท ?


3 ประเภท

4 ประเภท

5 ประเภท


2. ประเภทของเครื่องดนตรีไทยมีอะไรบ้าง ?


ดีด สี

ตี เป่า

ดีด สี ตี เป่า

3. ระนาดเอกเป็นเครื่องดนตรีประเภทอะไร ?


ดีด

ตี

เป่า

4. ระนาดทุ้มเป็นเครื่องดนตรีประเภทอะไร ?


ตี

สี

ดีด

5. ขลุ่ยเพียงออเป็นเครื่องดนตรีประเภทอะไร ?


ตี

เป่า

สี

6. ข้อใดไม่ใช่เครื่องดนตรีไทย ?


ระนาดเอก

เปียโน

ขิม

7. ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีไทย ?


กีตาร์

เปียโน

ระนาดเอก

8. ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ?


กลองแขก

ฉิ่ง

จะเข้

9. ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ?


ซออู้

ขลุ่ย

ระนาด

10. ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีประเภทสี ?


ซออู้

ฉิ่ง

ฉาบ

11. ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ?


แคน

ซอ

กลองแขก

12. แคนเป็นเครื่องดนตรีของภาคอะไร ?


ภาคกลาง

ภาคเหนือ

ภาคอีสาน

13. ระนาดทุ้มสร้างขึ้นในสมัยใด ?


รัชกาลที่ 2

รัชกาลที่ 3

รัชกาลที่ 4

14. ซอด้วงเป็นซอกี่สาย ?


1 สาย

2 สาย

3 สาย

15. คันทวนของซอด้วงยาวประมาณเท่าไร ?


7 มิลลิเมตร

200 เมตร

72 เซนติเมตร

16. ขนหางม้าที่ใช้ทำซออู้มีประมาณกี่เส้น ?


3-4 เส้น

50,000 เส้น

160-200 เส้น

17. จะเข้มีกี่สาย ?


2 สาย

3 สาย

4 สาย

18. ลักษณะเสียงของซอด้วงเป็นอย่างไร ?


เสียงแหลม ก้องกังวาน

เสียงทุ้ม ไม่ก้องกังวาน

เสียงทุ้มมากๆ ก้องกังวานมากๆ

19. โดยส่วนใหญ่เครื่องดนตรีไทยสร้างมาจากวัสดุใดเป็นหลัก ?


ไทเทเนียม

พลาสติกเสริมใยแก้ว

ไม้

20. ระนาดเอกวิวัฒนาการมาจากเครื่องดนตรีอะไร ?


กีตาร์

ขลุ่ย

กรับ

21. กลองแขกมีรูปทรงอย่างไร ?


ทรงกลม

ทรงพิรามิด

ทรงกระบอก

22. กลองแขกนั้นมี 2 ลูกซึ่งแต่ละลูกนั้นมีเสียงอย่างไร ?


เสียงสูงและเสียงต่ำ

เสียงไพเราะและเสียงเสนาะ

เสียงกังวานและเสียงไพเราะ

23. ผิวไม้ของขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร ?


ไม้ที่แห้งสนิท

ไม้ที่เปียกแฉะ

ไม้ที่ไหม้เกรียมและชื้น

24. ความไพเราะของดนตรีขึ้นอยู่กับอะไร ?


สภาพของตัวเครื่องดนตรี

คนที่เล่นเครื่องดนตรี

ถูกทุกข้อ

25. ข้อใดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ?


กรับ ฉิ่ง ซอ

ระนาด ฉาบ กลองแขก

จะเข้ ขิม ขลุ่ย

26. กลองแขกที่มีเสียงสูงเรียกว่าอะไร ?


กลองตัวผู้

กลองตัวใหญ่

กลองตัวลูก

27. กลองแขกที่มีเสียงต่ำเรียกว่าอะไร ?


กลองตัวเมีย

กลองตัวแม่

กลองตัวหลาน

28. ระนาดเอกในปัจจุบันมีกี่ลูก ?


85 ลูก

21 ลูก

4 ลูก

29. ซึงมีกี่สาย ?


9 สาย

5 สาย

4 สาย

30. ระนาดทุ้มมีกี่ลูก ?


1-2 ลูก

17-18 ลูก

30.6 - 52.12 ลูก



ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คีตกวีของไทย


คีตกวีของไทย


คีตกวี เป็นคำศัพท์ทางดนตรีที่พบได้บ่อยครั้ง หมายถึง ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด คำว่า คีตกวี ในภาษาไทยนี้ นิยมใช้เรียก ผู้ประพันธ์ดนตรีในแนวดนตรีคลาสสิกของตะวันตก โดยแปลมาจากคำว่า composer นั่นเอง อย่างไรก็ดี บางท่านอาจใช้คำว่า ดุริยกวี แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน สำหรับผู้ที่แต่งเพลงในแนวดนตรีอื่นๆ มักจะเรียกว่า นักแต่งเพลง หรือ ครูเพลง เท่านั้นคีตกวีอาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี เช่นกัน โดยทั่วไปเราจะรู้จัก คีตกวี ในฐานะที่เป็น นักดนตรี แม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการประพันธ์ดนตรี มากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม

ในประเทศไทยนั้นก็มีคีตกวีอยู่หลายคนแต่เราจะยกตัวอย่างมา 3 คนนะครับ




1. มนตรี ตราโมท
    


มนตรี ตราโมท มีนามเดิมว่า บุญธรรม เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443  เริ่มเรียนดนตรีปี่พาทย์ กับครูสมบุญ นักฆ้อง ต่อมาเรียนระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ แคลริเนต และหลักการแต่งเพลง กับครูสมบุญ สมสุวรรณ เรียนวิธีการแต่งเพลงกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสามศัพท์) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) และครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงหลายท่าน รวมทั้งเรียนโน้ตสากลกับพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) จนสามารถอ่านและเขียนได้เป็นอย่างดี มนตรี ตราโมท รับราชการที่กรมพิณพาทย์หลวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้บรรเลงระนาดทุ้มประจำวงข้าหลวงเดิม ต่อมาย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร จนเกษียณอายุ  และยังคงปฏิบัติราชการในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยจนถึงแก่อนิจกรรม มนตรี ตราโมท  มีฝีมือทางการบรรเลงเครื่งดนตรีไทยได้หลายชนิด ที่ได้รับยกย่องพิเศษ คือ ระนาดทุ้ม ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ประเภทเพลง 3 ชั้นเช่น เพลงต้อยตลิ่ง (แต่งร่วมกับหมื่นประคมเพลงประสาน) เพลงเทพไสยาสน์ เพลงจะเข้หางยาว ฯลฯ  แต่งตำราทางวิชาการดนตรีไทยไว้ เช่น ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ ศัพท์สังคีต ประวัติบทเพลงต่างๆ และบทความทางประวัติการดนตรีไทยจำนวนมาก  นอกจากนั้น ยังได้สอนดนตรีและเป็นผู้บรรยายพิเศษแก่สถาบันต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศิลปากร ครูมนตรี ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2523 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ.2524 และ
มหาวิทยาลัยศณีนครินทรวิโรฒ เมื่อพ.ศ.2526  ครูมนตรีได้รับพระราชทานโล่ห์เกียรติยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักดนตรีตัวอย่าง เมื่อพ.ศ.2524 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตนักศิลปกรรม ประเภทวิจิตรศลป์ สาขาดุริยางคศิลป์ เมื่อพ.ศ. 2524 และได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย ประจำปีพ.ศ.2528




2. บุญยงค์ เกตุคง



ครูบุญยงค์ เป็นบุตรชายคนโตของนายเที่ยงและนางเขียน เกตุคง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4ปีวอก พ.ศ.2463 ที่ตำบลวัดสิงห์เป็นหลานปู่หลานย่าของนายใจและนางเพียร ชาวสวนตำบลดาวคนอง เป็นหลานตาหลานยายของนายเปี่ยมและนางภู่ ศรีประเสริฐ ตากับยายและแม่เป็นคนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีน้องชาย 2 คนชื่อบุญยังและทองอยู่ มีน้องสาว 1 คนชื่อเบญจางค์ น้องชายที่ชื่อบุญยังเป็นนักดนตรีฝีมือดี ครูมีภรรยาซึ่งเป็นน้องสาวครูชื้น ดุริยประณีตแต่ไม่มีบุตรด้วยกันครูได้ศึกษาดนตรีกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น ครูหรั่ง พุ่มทองสุข ครูประสิทธิ์ เกตุคง ครูเพชร จรรย์นาค ครูสอน วงฆ้อง ครูเทวาประสิทธิ์   พาทยโกศล ครูพุ่ม บาปุยะวาส เป็นต้น จนมีความสามารถในการบรรเลงปี่พาทย์ได้ทุกประเภท ทั้งประกอบการแสดงโขน ละคร ลิเก จนถึงการประชันวงปี่พาทย์   นอกจากนั้นครูได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น “ระนาดเทวดา” เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกันประวัติการทำงาน ครูได้เข้ารับราชการในกรมประชาสัมพันธ์ประมาณ 5 – 6 ปี จากนั้นเข้าเป็นนักดนตรีประจำอยู่ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมอยู่ประมาณ 5 ปี จากนั้นเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของสำนักงานกรุงเทพมหานคร จนเกษียณอายุเมื่อ ปีพ.ศ.2525ผลงานทางด้านการแต่งเพลงของครูมีมากหลายเพลงอาทิ โหมโรงสามสถาบัน โหมโรงจุฬามณี โหมโรงสามจีน เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงเริงพลเถา เพลงศรีธรรมราชเถา เพลงชเวดากองเถา เพลงพิรุณสร่างฟ้าเถา เพลงเพชรน้อยเถา เป็นต้น และยังแต่งทางเดี่ยวสำหรับเพลงต่างๆและเครื่องดนตรีต่างๆอีกเป็นอันมาก   ผลงานการแต่งเพลงของครูในระยะหลัง มีชื่อเสียงแพร่หลายไปถึงต่างประเทศคือไปร่วมงานกับนายบรู๊ซ แกสตัน นักดนตรีชาวเยอรมันจัดทำเพลงชุด “เจ้าพระยาคอนแชร์โต้”บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทยผสมเครื่องดนตรีฝรั่งเป็นที่นิยมชมชอบกันโดยทั่วไป นอกจากนั้นท่านยังได้รับการยอมรับนับถือจาก เซอร์ ไซมอน แรทเทิล (Sir Simon Rattle [1955]) วาทยากรชาวอังกฤษ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งวาทยากรหลักของวงเบอร์ลินฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตรา) ในฐานะครูผู้ใหญ่อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า ครูบุญยงค์ เกตุคงเป็นอัจฉริยบุคคลทางดนตรีของไทยอีกผู้หนึ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 ครูได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)ประจำปี 2531 นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งในชีวิตที่ครูได้รับ ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2539 สิริรวมอายุได้ 76 ปี



3. พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)    


พระประดิษฐไพเราะ นามเดิม มี ดุริยางกูร เกิดตอนปลายรัชกาลที่ 1 แห่งพระราชวงศ์จักรี ท่านเป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 นั้น ครูมีแขกได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2396 ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กว่าราชการกรมปี่พาทย์ ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้แต่งเพลงเชิดจีน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สมพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากหลวงเป็นพระ        พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้รับสมญาว่าเป็นเจ้าแห่งเพลงทยอย เพราะผลงานเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยเขมร ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งสิ้น ผลงานของพระประดิษฐไพเราะ(ครูมีแขก) เท่าที่รวบรวมและปรากฏไว้ มีดังนี้ โหมโรงขวัญเมือง การะเวกเล็กสามชั้น กำสรวลสุรางค์สามชั้น แขกบรเทศสามชั้น และผลงานอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ท่านถึงแก่กรรม ประมาณสมัยรัชกาลที่ 5






 ขอขอบคุณ
แหล่งที่มาของข้อมูลดีๆ
จากเว็บไซต์ข้างล่างนี้ครับ




วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

วงดนตรีไทย

วงดนตรีไทย

วงดนตรีไทยที่บรรเลงเป็นระเบียบแบบแผนมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน
แบ่งโดยสังเขปมีอยู่ 3 ประเภท
1.วงปี่พาทย์
2.วงเครื่องสาย
3.วงมโหรี

ความสำคัญและลักษณะของวงดนตรีแต่ละประเภทมีดังนี้

วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์ หมายถึง วงที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีหลายรูปแบบดังนี้
1. วงปี่พาทย์ชาตรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก " ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา " เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร ใช้เครื่องดนตรี ดังนี้ ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง

รูปวงปี่พาทย์ชาตรี

2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีนิยมบรรเลงทั่วไป
เช่นบรรเลงดนตรีล้วนๆ หรือประกอบการขับร้อง มี 3 ขนาด ดังนี้

2.1 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด


รูปวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า



2.2 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง

รูปวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่


2.3 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง

รูปวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่


3. วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องดนตรี ที่ใช้ ขลุ่ยเพียงออ ซออู้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ กลองตะโพน ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ( ระนาด ใช้ไม้นวมตี)

รูปวงปี่พาทย์ไม้นวม


4. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น ใช้ประกอบละครดึกบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ตะโพนกลอง ตะโพน กลองแขก ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

รูปวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์


5. วงปี่พาทย์มอญเดิมเป็นของมอญใช้ทั้งงานมงคลและอวมงคลแต่ปัจจุบันจะใช้บรรเลงเฉพาะงานศพเท่านั้น มีขนาดต่างกันดังนี้.

5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ระนาดเอก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง

5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ

รูปวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่


5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ

6. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลง ใน งานศพเท่านั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองมลายู ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
รูปวงปี่พาทย์นางหงส์


วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
และกำกับจังหวะประกอบ มีหลายขนาด ดังนี้

1.วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย จะเข้ ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง

 
รูปวงเครื่องสายวงเล็ก


2. วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 คัน ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ โทน กรับ รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง

3.วงเครื่องสายผสม คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายแบบธรรมดา และนำเครื่องดนตรีอื่นมาผสม เช่น "วงเครื่องสายขิม" จะนำขิมมาบรรเลงร่วม

รูปวงเครื่องสายผสม



4.วงเครื่องสายปี่ชวา คือ ปรับปรุงมาจาก " วงกลองแขกเครื่องใหญ่ " ใช้ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปี่ อ้อ ปี่ชวา
กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ ต่อมาเปลี่ยนขลุ่ยหลิบมาแทนปี่อ้อ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น " เครื่องสายปี่ชวา "


รูปวงเครื่องสายปี่ชวา



วงมโหรี

วงมโหรี เป็นวงที่เกิดจากการผสมกัน ระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย ตัดเครื่องดนตรีทีมีเสียงดังออก ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์
ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มซอสามสาย วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า แบ่งตามขนาด ดังนี้

1.วงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย ระนาดเอกมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรี จะเข้ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง

วงมโหรีวงเล็ก



2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลีบ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง


วงมโหรีเครื่องคู่



 3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ซอสามสาย 2 คัน
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง


วงมโหรีเครื่องใหญ่



ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆ
และรูปภาพจากเว็บไซต์ข้างล่างนี้

 

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย


ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า



ประวัติ
ในสมัยกรุงพระสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่  รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม

ลักษณะ
ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล

เครื่องดนตรีไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า

เครื่องดีด เช่น

จะเข้


รูปจะเข้




จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อยตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัวและท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วยแผ่นไม้ มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัวจะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ทำหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอนหางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มีหย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสายติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่สำหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงลำดับขึ้นไป ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม.เวลาบรรเลงใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้ายสำหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วยจับให้มีกำลัง เวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย




ซึง


รูปซึง





ซึงเป็นเครื่องดนตรีประเภท ดีด มี4 สาย แต่แบ่งออกเป็น2เส้น เส้นละ2สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม ทั้งกะโหลกและคันทวน ใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่มและ สะล้อ



กระจับปี่





รูปกระจับปี่




กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด หรือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง มีความหนาประมาณ 7 ซม. ด้านหน้ายาวประมาณ 44 ซม. กว้างประมาณ 40 ซม. ทำคันทวนเรียวยาวประมาณ 138 ซม. ตอนปลายคันทวนมีลักษณะ แบน และบานปลายผายโค้งออกไป ถ้าวัดรวมทั้งคันทวนและตัว กะโหลก จะมีความยาวประมาณ 180 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึ้นสาย 4 อัน มีนมรับนิ้ว 11 นมเท่ากับจะเข้ ตรงด้านหน้ากะโหลกมีแผ่นไม้บางๆ ทำเป็นหย่องค้ำสายให้ตุงขึ้น เวลาบรรเลงใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ จับไม้ดีด เขี่ยสายให้เกิดเสียง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลว่า “ร้องเพลงเรือ เป่าปี่เป่าขลุ่ย สีซอดีดจะเข้ กระจับปี่ตีโทนทับ โห่ร้องนี่นั่น” ต่อมาก็นำมาใช้เป็นเครื่องดีดประกอบการขับไม้ สำหรับบรรเลงในพระราชพิธี แต่เนื่องจากกระจับปี่มีเสียงเบา และมีน้ำหนักมาก ผู้ดีดกระจับปี่จะต้องนั่งพับเพียบขวาแล้วเอาตัวกระจับปี่ วางบนหน้าขาข้างขวาของตน เพื่อทานน้ำหนัก มือซ้ายถือคันทวนมือ ขวาจับไม้ดีด เป็นที่ลำบากมาก อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ไม่ค่อยมีผู้นิยมเล่นกระจับปี่ ในปัจจุบันจึงหาผู้เล่นได้ยาก




เครื่องสี เช่น
ซออู้

รูปซออู้




ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย

ซอด้วง



รูปซอด้วง






ซอด้วงเป็นซอสองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้ แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะของซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกีน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง "เร" ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง "ซอล" โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้  ซอด้วงใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินทำนอง


ซอสามสาย




รูปซอสามสาย





ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง ปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า “….ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ น่าเกลียดมาก มีสามสายเรียกว่า “ซอ” ….” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้  จนมาถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยภาพในทางศิลปะด้านต่างๆ เช่น ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้




เครื่องตี เช่น


ระนาดเอก




รูประนาดเอก



ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ชิงชัน หรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยูงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า




ระนาดทุ้ม



รูประนาดทุ้ม




ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม




กลองแขก





รูปกลองแขก







กลองแขกเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า หน้ารุ่ย ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม เรียกว่า หน้าด่าน ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริด การขึ้นหนังใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง โยงเส้นห่าง ๆ ในปัจจุบันอาจใช้เส้นหนังแทนเนื่องจากหาหวายได้ยาก กลองแขกสำหรับหนึ่งมี 2 ลูก ลูกเสียงสูงเรียก ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียก ตัวเมีย ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก



เครื่องเป่า เช่น




ขลุ่ยเพียงออ




รูปขลุ่ยเพียงออ








ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู ๔ รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รูด้วยกัน รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงเหอ ซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิท



ปี่ใน



รูปปี่ใน







ปี่ใน เป็นปี่ที่มีขนาดใหญ่และมีเสียงต่ำ ในบรรดาเครื่องเป่าที่มีลิ้นตระกูลปี่ใน ลักษณะเป็นปี่ท่อนเดียว ลำปี่ที่ทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงเรียกว่า"เลา" เลาปี่ทำมาจากไม้ เช่น ไม้พยุง ไม้ชิงชัน มีความยาวประมาณ 52 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีลักษณะหัวบานท้ายและป่องตรงกลาง เจาะรูกลางตลอดเลา ด้านบนมีรูเล็กใช้เสียบลิ้นปี่ ด้านล่างรูจะใหญ่ บริเวณเลาปี่ที่ป่องตรงกลางจะเจาะรู 6 รู ลิ้นปี่ทำจากใบตาลนำมาตัดซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดผูกกับท่อทองเหลืองเล็กๆ เรียกว่า"กำพวด"




แคน




รูปแคน








แคน เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย แคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ
1.แคนหก มีลูกแคน 3 คู่ (6 ลูก) เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด สำหรับเด็กหรือผู้เริ่มฝึกหัดใช้เป่าเพลงง่าย ๆ เพราะเสียงไม่ครบ
2.แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) เป็นแคนขนาดกลาง มีเสียงครบ 7 เสียง ตามระบบสากล และมีระดับเสียงสูง ต่ำ ทั้ง 7 เสียง หรือที่เรียกว่า คู่แปด คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที (คู่แปด คือทุกเสียงเช่นเสียงโด ก็จะมีทั้งเสียงโดสูง และโดต่ำ ทุกเสียงมีคู่เสียงทั้งหมด)
3.แคนแปด ใหญ่กว่าแคนเจ็ด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เพิ่มคู่เสียงระดับสูงขึ้นไปให้เป็นเสียงประสานในการเล่นเพลงพื้นเมือง
4.แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) ใหญ่ที่สุด เวลาเป่าต้องใช้ลมมากจึงไม่ค่อยมีคนนิยม ในเรื่องระดับเสียงของแคนเหมือนระบบเสียงดนตรีสากลนั้น เป็นเรื่องน่าสนใจ น่าที่จะได้ศึกษากันต่อไปว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ดนตรีไทยไม่มีขั้นครึ่งเสียง และเพลงพื้นเมืองอีสานใช้เพียง 5 ขั้น คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียงฟา และ ที
แคนนอกจากบรรเลงเป็นวงแล้ว ก็ยังใช้บรรเลงประกอบการลำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่วมกับพิณ โปงลาง ฯลฯ ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้





ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่ได้มาจาก website เจ๋งๆ
และหาข้อมูลดีๆเพิ่มเติมได้จาก link ข้างล่างนี้ครับผม




แหล่งที่มา

http://www.wikipedia.org/
http://www.youtube.com/
http://www.google.com/